Knowledge

คำถามทั่วไป

พลาสติกที่จะนำมาใช้ทำบรรจุภัณฑ์ต้องมีน้ำหนักเบาทนต่อแรงกระแทกได้สูง
เมื่อนำมาบรรจุอาหารจะต้องไม่ทำให้รสชาติของอาหาร เปลี่ยนทนสารเคมีได้ดีเยี่ยม 
นอกจากใช้งานง่ายแล้วยังสามารถกำจัดง่ายและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมเรียกพลาสติกกลุ่มนี้ว่า Barrier Plastic

ถุงเย็น ทำมาจากโพลีเอททิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDPE) มีลักษณะใส นิ่ม และยืดหยุ่นได้สามารถใช้บรรจุของ
พื่อแช่แข็งได้ที่อุณหภูมิต่ำสุดถึง –40 องศาเซลเซียส  แต่ถุงเย็นไม่เหมาะที่จะใช้บรรจุไขมัน หรือน้ำมันต่างๆต่อมา
จึงมีการผลิต ถุงร้อน ซึ่งผลิตจาก โพลีโพพิลีน (PP) มีลักษณะใสกว่าถุงเย็น ไม่ยืดหยุ่น บรรจุพวกไขมันได้ดีรวมทั้ง
ใช้ บรรจุ ของร้อนได้ถึงจุดน้ำเดือด แต่ใช้บรรจุของ เย็น ได้ที่อุณหภูมิต่ำสุดเพียง 0 องศาเซลเซียสเท่านั้น

ถุงที่บรรจุอาหาร ประเภท กาแฟผงสำเร็จรูป หรือ ขนมขบเคี้ยว จำเป็นต้องมีคุณสมบัติพิเศษที่
สามารถป้องกันการผ่าน เข้า-ออกของไอน้ำ ก๊าซออกซิเจน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ ตลอดจนรังสียูวีได้
เพื่อเป็นการถนอมความกรอบและรสชาติของอาหารให้สมบูรณ์ จนกระทั่งถึง มือผู้บริโภค
ผลิตภัณฑ์ ประเภทนี้ถูกทำขึ้นเป็นพิเศษโดยนำแผ่นฟิล์ม พลาสติกมาผ่านกระบวนการ Metallization
ด้วยเครื่อง Metalized Coating Machine

 

เติมสีในขั้นตอนก่อนการเป่าขึ้นรูป  โดยใช้ผงสีผสมโดยตรงกับเม็ดพลาสติก

พีพี เป็นพลาสติกประเภทเทอร์โมพลาสติกที่เบาที่สุด มีสมบัติเชิงกลดีมาก เหนียวทนต่อแรงดึง
และทรงตัวได้ดีมีจุดหลอมที่ 65 องศา เซลเซียส ไอน้ำ และออกซิเจนซึมผ่านได้ต่ำเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีมาก
ใช้ทำถุงร้อนหรือบรรจุอาหารที่ไม่ต้องการให้ออกซิเจนซึมผ่าน พลาสติกหุ้ม ซองบุหรี่ ภาชนะที่ใช้ในครัวเรือน เป็นต้น

1. เครื่องเป่าผมหรือปืนร้อน เป็นเครื่องมือที่ง่ายที่สุดสำหรับการผลิตจำนวนน้อยๆน้ำหนักเบา มีความคล่องตัว
    สูงกว่าอุปกรณ์อื่น เคลื่อนย้ายสะดวก
2.ให้ความร้อนได้ในช่วงตั้งแต่ 20 องศา – 400 องศาเซลเซียส
3.ตู้อบ เป็นแบบเปิดรับบรรจุภัณฑ์สินค้าที่สวมฟิล์ม หรือผนึกฟิล์ม 3 ด้าน
4.อุโมงค์ความร้อน เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการให้ความร้อนแก่ผลิตภัณฑ์ที่ห่อด้วยฟิล์มหด หลังจากที่ผลิตภัณฑ์ปิดผนึกแล้ว
   จะถูกส่งไปที่อุโมงค์ร้อนเพื่อให้ฟิล์มหดตัวที่อุณหภูมิ 93-176 องศา เวลาที่ใช้ในอุโมงค์ขึ้นกับชนิดและความหนาของฟิล์ม
5.บ่อแช่น้ำร้อน ตัวสินค้าจะห่อด้วยฟิล์มชนิด High Performance ที่มีความเหนียวสูงที่ปิดผนึกทุกด้านแล้วจึงนำ ไปหย่อนแช่ใน
   น้ำร้อนตามเวลาและอุณหภูมิที่ตั้งไว้ 

ต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม คือสามารถสกัดกั้นความชื้นแสงแดดหรือก๊าซต่างๆ ได้เพราะเรื่องนี้
จะมีผลต่อคุณภาพของอาหารที่บรรจุอยู่ภายในแต่ เนื่องจากฟิล์มพลาสติก แต่ละชนิดมีคุณสมบัติในการสกัดกั้นต่างกัน
จึงต้องใช้ฟิล์มพลาสติกหลายชนิดเพื่อจะได้ฟิล์ม พลาสติกหลายชั้นที่มี คุณสมบัติครบถ้วนตามความต้องการ ซึ่งมีตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป

ห้ามนำภาชนะพลาสติกที่ไม่ใช่เกรดใส่อาหารมาใช้ เช่น นำพลาสติกรีไซเคิลที่นำกลับมาหลอมขึ้นรูปใหม่และผสมสี
ในการผลิตโดย ไม่ได้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ ใส่อาหาร เช่น นำกล่อง ตะแกรง ถัง พลาสติกหรือกาละมังพลาสติกสีสดหรือสีดำ
มาใส่อาหารโดยเฉพาะอาหารที่มีรสเปรี้ยว ได้แก่ อาหารหมักดองใส่น้ำจิ้มที่ผสมน้ำส้มหรือน้ำมะขามเปียก อาหารที่มันทั้งจากเนย
น้ำมันและ น้ำกะทิ เพราะอาหาร เหล่านี้สามารถละลายสารเคมีออกมาเจือปนกับอาหารได้  จึงไม่ปลอดภัย ต่อผู้บริโภคอาหาร
ที่มีความเป็นกรดควรใส่ขวดที่ทำจากแก้ว กระเบื้อง และสแตนเลส ทั้งนี้การล้างพลาสติกควรใช้วัสดุที่ไม่ขูดให้เกิด รอยบนพลาสติก

นอกจากนี้ไม่ควรนำพลาสติกที่ใส่ของเย็นมาใส่ของร้อน เช่น นำกระติกพลาสติกใส่น้ำแข็งมาใส่ข้าวสวยหรือข้าวเหนียว
เพื่อรักษาความร้อนไว้ถ้าต้องการให้ข้าวร้อนควรนำหม้อพร้อมฝาปิดใส่ใน กระติกอีกหนึ่งชั้นเพื่อไม่ให้ข้าวสัมผัสกับกระติก
โดยตรงและไม่ให้ไอน้ำหยด ใส่อาหาร การใช้ผ้า รองกระติกไม่สามารถลดการปนเปื้อนได้

ขวดพลาสติกชนิดบรรจุน้ำดื่มโดยทั่วไปผลิตจากพีอีทีหรือพีอีทีอีสังเกตที่ใต้ขวดมีสัญลักษณ์หมายเลข 1 ในรูปสามเหลี่ยมรีไซเคิลขวด
นี้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ เพียงครั้งเดียวจึงไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำและไม่ควรทิ้งขวดน้ำไว้ในที่ร้อน แต่ถ้าต้องการใช้ขวดพลาสติกเพื่อใส่น้ำดื่ม
แช่เย็น ควรใช้ขวดที่ผลิตขึ้นเพื่อใส่น้ำดื่มโดยตรงตามที่ระบุในฉลาก ซึ่งผลิตจากโพลีเอทีลีนความหนาแน่นสูงและมีสัญลักษณ์
หมาย เลข 2 ในรูปสามเหลี่ยมรีไซเคิลนอกจากนี้ควรเปลี่ยนขวดใหม่หลังจากผ่านการล้างและใช้งานมานานตัวอย่างการใช้ขวดพลาสติกในน้ำ และเครื่องดื่ม ผิดวิธี คืออย่าทิ้งขวด PET/PETE บรรจุน้ำดื่มไว้ในรถที่จอดตามแดด ซึ่งจากการทดลองของห้องปฏิบัติการในสวิสเซอร์ แลนด์พบว่า ขวดน้ำที่ทิ้งไว้ถูกแดดร้อน 60 องศาเซลเซียสก่อให้เกิดการปนเปื้อนของสาร DEHA ซึ่ง เป็นสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการ ผลิตพลาสติก

ถุงพลาสติกที่ใช้งานทั่วไปซึ่งผลิตจากโพลิโพพิลีนหรือพีพีมีหลายประเภท เช่น ถุงพลาสติกหูหิ้ว (ถุงก๊อบแก๊บ)ถุงขยะ ถุงร้อน และถุงเย็น
จึงต้องเลือก ใช้ให้ถูกวิธี ถุงร้อนชนิดบรรจุอาหาร ทำมาจากโพลิโพพิลีนมีความอาหารได้การรองด้วยกระดาษ ชิ้นเล็กๆ ไม่สามารถลดการปนเปื้อนได้ จึงควรใส่อาหาร ในถุงร้อน ก่อนใส่ ในถุงหูหิ้ว 

การใช้กล่องโฟมมาใส่อาหารร้อนหรือมันซึ่งเป็นการใสกว่าถุงเย็น ถุงชนิดนี้ใส่อาหารร้อนได้ส่วนถุงเย็น ทำจากโพลิเอทิลีนชนิด
ความหนาแน่นต่ำ ไม่ควรนำมาใส่อาหารร้อน ตัวอย่างการใช้ถุงพลาสติก ที่ผิดวิธี คือ นำถุงร้อนมาใส่ อาหาร เช่น ข้าวเหนียว
ขนมถ้วย ลูกชิ้น และนำไปนึ่ง หรืออุ่น ในไมโครเวฟ โดยไม่แกะถุงออกหรือห้ามนำถุงหูหิ้วชนิด ขุ่น อาจมีสีหรือไม่มี สี มาใส่อาหาร
พราะถุงชนิดนี้ไม่ได้ทำขึ้นเพื่อใส่อาหารเมื่อนำมาใช้ใส่อาหาร ที่มีความร้อนมักพบว่า จะกลายเป็นกรด
ซึ่งอาจละลายสาร เคมีบางชนิดไปปนเปื้อนในใช้ที่ผิดวิธีเพราะอาจละลายเอาสาร สไตรีนออกมาปนเปื้อนกับ
อาหารสไตรีนจัด เป็นสารก่อมะเร็งและมีพิษต่อระบบประสาท ถ้าอาหารมีไขมันสูงและมีความร้อนก็ยิ่งจะทำให้มี
การละลายของสไตรีนออกมาปนเปื้อน ในอาหารสูงขึ้นด้วยโฟมถูกขีดข่วนเป็นรอยได้ง่าย
จึงไม่ควรนำกล่องโฟมที่ผ่านการใช้งานแล้วกลับมาใช้ซ้ำ


 

เราสามารถทดแทนด้วยพลาสติกชนิดอื่นที่ดีกว่าได้หรือไม่ (ทั้งชนิดที่ทน ความร้อน และไม่ ทนความร้อน) 
ที่เรียกกันว่าถุงร้อนถุงเย็น ถุงร้อนส่วนใหญ่ทำมาจากเม็ดพลาสติกPP (polypropylene) มีลักษณะใสค่อนข้าง
กระด้างสามารถบรรจุ ของ ร้อนได้ แต่ไม่เหมาะกับอาหารแช่แข็ง อีกชนิดทำมาจากเม็ดโพลีเอทธิลีนมีความหนาแน่นสูง (HDPE)
มีลักษณะขุ่น ส่วนถุงเย็นทำ มาจากเม็ดโพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDPE) มีลักษณะค่อนข้างใส ยึดหยุ่นดีใช้
สำหรับใส่อาหารทั่วไปรวมถึงอาหารแช่แข็งได้ ถุงใส่อาหารเหล่านี้ไม่สามารถย่อยสลายได้โดยจะเห็นว่าอายุการใช้งาน
สั้นมาก ทำให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกในขณะนี้กล่อง ที่ใช้ บรรจุ อาหารมีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกชีวภาพแล้ว
แต่ถุงพลาสติกที่ทำจากพลาสติกชีวภาพยังไม่เหมาะที่จะนำมาใส่อาหารเนื่องจากพลาสติกชีวภาพไม่สามารถทดความร้อนสูงได้

ถุงพลาสติกชีวภาพคือ ถุงพลาสติกที่ทำมาจากพลาสติกชีวภาพ (เช่น โพลีแลกติกแอชิด PLA,โพลีบิวธิลีนชัคชิเนต PBS
ซึ่งผลิตได้มา จากแหล่งวัตถุดิบทดแทนจากธรรมชาติเช่น ข้าวโพด, มันสำปะหลัง) สามารถถูกย่อยสลายได้ทาง
ชีวภาพโดยจุลินทรีย์ ในดิน เพราะ การกำจัดขยะถุงพลาสติกคือการฝังกลบหากเราใช้ถุงพลาสติกชีวภาพ หลังใช้งาน
แล้วจะถูกฝังกลบ แล้วจุลินทรีย์ในดินจะทำ หน้า ที่ ย่อยสลายหรือพูดง่ายๆ ว่าจุลินทรีย์จะกินพลาสติกเหล่านี้เป็นอาหาร
หลังจากพลาสติกถูกย่อยสลายจะได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และมวลชีวภาพกลับคืนสู่ธรรมชาติ
ซึ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำจะถูกพืชนำไปใช้สังเคราะห์แสงได้ ทั้งหมดนี้ใช้ระยะเวลาราว 2-3 ปี

กระแสภาวะโลกร้อนซึ่งทำให้มีการรณรงค์ลดการใช้พลาสติกนั้น ให้มองไปในเรื่องของการนำทรัพยากรมาใช้ ให้เกิดคุณค่าและคุ้มค่า สูง สุดมากกว่าซึ่งผลการวิจัยในหลายสถาบันและหลายประเทศ ที่มองตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง  คือ  ตั้งแต่การนำทรัพยากรขึ้น มาผ่านกระบวนการผลิตจนได้ผลิตภัณฑ์มาใช้นั้น พลาสติกมีการใช้ทรัพยากร ทั้งในแง่ ของการนำมาเป็นวัตถุดิบตั้งต้น และการใช้ พลังงานในกระบวนการผลิตน้อยกว่าผลิตภัณฑ์อื่น ซึ่งถ้าหากมีการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกอย่างมีคุณค่าและใช้อย่างคุ้มค่ากับทรัพยากร ที่เสียไปพลาสติกนอกจากจะไม่ได้เป็นผู้ร้าย ของสังคม แล้ว ยังจะนับได้ว่าเป็นพระเอกด้วยซ้ำไป

ในปัจจุบันพลาสติก กลายมาเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเรา อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เนื่องจากมีข้อดีคือ
มีน้ำ หนักเบาและราคาถูก ทำให้ปริมาณของบรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้แล้วจึงมีจำนวนมากขึ้นตามกันแต่เราก็มีวิธีการที่จะช่วยลดปัญหา
บรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ได้ด้วยการนำ กลับมาใช้ใหม่คือ Recycle นั่นเอง กระบวนการ รีไซ เคิล พลาสติกต้องเริ่มจากการคัดแยก
ประเภท ของพลาสติกออกก่อนเป็นลำดับแรก เนื่องจากพลาสติกมีทั้งหมด 7 ประ เภท และแต่ละ ประเภทไม่สามารถนำมารีไซเคิลรวมกัน
ซึ่ง วิธีการแยกประเภทพลาสติกที่ง่ายที่สุดคือ การสังเกตสัญ ลักษณ์รีไซเคิลที่อยู่บริเวณ ใต้ภาชนะหรือด้านข้าง ซึ่งสัญลักษณ์ดังกล่าว
ถูกกำหนดโดยใช้ตัวเลข 1 - 7 เป็นหลัก โดย ตัวเลขนั้นจะถูกล้อมรอบด้วยสัญลักษณ์รีไซเคิลอีกทีหนึ่ง เมื่อพลาสติกแต่ละชนิดถูก
แยกออกจากกันแล้ว จะถูกบีบ ให้แบนแล้วอัดลมรวมกันเป็นก้อน  เพื่อแยกส่งให้ยังโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล
และเมื่อถึง โรงงานรีไซเคิล  พลาสติกที่ถูกอัดเป็นก้อนจะเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ซึ่งขั้นตอนการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์พลาสติก
มาเป็นพลาสติก รีไซเคิล มีขั้นตอนง่ายๆ 7 ขั้นตอน ดังนี้ 

7 ขั้นตอนการผลิตพลาสติก

ขั้นตอนที่ 1   การตรวจพลาสติก (Inspection)
ขั้นตอนนี้เป็นการแยกสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ที่ติดอยู่กับบรรจุภัณฑ์พลาสติก  เช่น เศษหิน เศษทราย เป็นต้น
ตลอดจนพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ออกมาให้หมด
ขั้นตอนที่ 2   การตัดและล้าง (Chopping and Washing)
ในขั้นนี้พลาสติกจะถูกตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ และล้างให้สะอาด
ขั้นตอนที่ 3   การลอยในน้ำ (Floatation Tank)
ถ้าพลาสติกมีการปนมาหลายประเภท  การนำไปลอยน้ำจะสามารถแยกประเภทพลาสติกออกได้ 
เนื่องจาก ความหนาแน่นของพลาสติกแต่ละประเภทแตกต่างกัน
ขั้นตอนที่ 4   การทำให้แห้ง (Drying)
เมื่อแยกพลาสติกโดยการลอยในน้ำแล้ว จึงนำไปเป่าให้แห้ง
ขั้นตอนที่ 5   การหลอมด้วยความร้อน (Melting)
นำชิ้นพลาสติกมาหลอมใหม่โดยใช้ความร้อน  ที่อุณหภูมิและความดันที่เหมาะสมกับชนิดของพลาสติกนั้น ๆ 
 ขั้นตอนที่ 6 การกรอง (Filtering)
พลาสติกที่หลอมละลายจะผ่านแผ่นกรองเพื่อแยก วัสดุปนเปื้อนออก  แล้วจึงส่งเข้าเครื่องรีดเป็นเส้น 
ขั้นตอนที่ 7 การทำพลาสติกเม็ด (Palletizing)
นำพลาสติกเส้นที่ผ่านเครื่องรีด มาตัดให้เป็นเม็ดเล็ก ๆ แล้วจึงส่งต่อไปยังโรงงานขึ้นรูปเป็นพลาสติกใหม่

เพียง 7 ขั้นตอนแค่นี้ เราก็จะได้พลาสติกกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปริมาณบรรจุภัณฑ์พลาสติก ใช้แล้วใน
กองขยะรวม ยัง สามารถช่วยประหยัดทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตได้อีกด้วย

 

​การยืดอายุการเก็บรักษาผักและผลไม้สดตัดแต่ง พร้อมบริโภคด้วยภาชนะบรรจุดัดแปลงบรรยากาศ (MAP)
ผลิตผลทางการเกษตรพบว่า พืช,ผัก,ผลไม้ แต่ละชนิดมีอัตราการหายใจที่แตกต่างกันโดยผลิตผล ที่มีการหายใจสูงจะมีอายุการ เก็บ รักษาสั้น  ประกอบกับความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์รวมกับหลักการสำคัญของด้านคุณสมบัติวัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์พบว่า ฟิล์มพลาสติก ที่ดีต้องมีคุณสมบัติยอมให้ก๊าซออกซิเจน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซเอทิลีน และความชื้นผ่าน ด้วยอัตราที่เหมาะ สม  ดังนั้นการทำให้ฟิล์มสามารถแปลงสภาพบรรยากาศภายในภาชนะบรรจุให้เป็นสภาวะสมดุล (Equilibrium Modified Atmosphere: EMA) ส่งผลให้พืชผักผลไม้ที่ใส่ไว้ในบรรจุภัณฑ์เกิดการ ชะลอการหายใจ  การคายน้ำ และ ลดการเสื่อมสภาพลงได้ ซึ่งกลไกบรรจุ ภัณฑ์ EMA นี้ เป็น หลักการหนึ่งของบรรจุภัณฑ์แบบแอคทีฟที่ได้รับการยอมรับว่า เป็นเทคโนโลยีการรักษาความสดและการถนอม อาหาร

ฟิล์มแอคทีฟ ที่สามารถดัดแปลงบรรยากาศแบบสมดุลได้นี้ ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาความสดใหม่ของผลิตผลได้มากกว่า 2-5 เท่า เพราะฟิล์มเจาะรูขนาดใหญ่ยอมให้ก๊าซและความชื้นผ่านมากเกินไป ทำให้ผลิตผลที่บรรจุไว้ภายในสูญเสียน้ำมาก ไม่เหมาะกับการ ยืดอายุ การ เก็บรักษาผลิตผล ในขณะที่ฟิล์มพลาสติกที่ไม่เจาะรูที่แม้จะดัดแปลงสภาพบรรยากาศภายในบรรจุภัณฑ์แล้ว กลับทำให้ ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์สะสมค้างมากเกินไปและออกซิเจนผ่านน้อยเกินไป ทำให้ผลิตผลภายในบรรจุภัณฑ์มีกลิ่นและรสชาติ ผิดปกติได้
ตลอด 20 ปีที่ผ่านมาปริมาณการบริโภคผัก ผลไม้สด ทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะผัก ผลไม้สด ตัดแต่งพร้อมบริโภค ทั้งนี้เนื่องจากเป็นรูปแบบผลิตภัณฑ์สามารถตอบสนอง ต่อชีวิตประจำวันที่รีบเร่ง และนับวันจะต้องการ ความสะดวกสบายมากขึ้น
ดังนั้นทางโรงงานจึงเตรียมหาวิธีใหม่ ๆ หรือ ปรับปรุงวิธีการที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ มีคุณภาพที่ดีและมีอายุการเก็บ รักษาที่ยาว นานขึ้นวิธีการหนึ่งที่ใช้ได้ผลดีนั่นคือการบรรจุอาหารผักผลไม้สดดัดแปรสภาวะบรรยากาศ Modified-Atmosphere Packaging (MAP)
MAP หมายถึง การดัดแปลงสภาวะบรรยากาศ และ การเก็บรักษาผลิตผลไว้ในบรรจุภัณฑ์ ปิดสนิทที่ภายในมีส่วนประกอบของ ก๊าซ ที่แตกต่างไปจากบรรยากาศปกติ (ไนโตรเจน 78% ออกซิเจน 21% คาร์บอนไดออกไซด์ 0.03%
ก๊าซเฉื่อยเล็กน้อย) 

การใช้ MAP ในการยืดอายุการเก็บรักษาผักผลไม้ให้ได้ผลดี และสามารถคงคุณภาพของผักผลไม้ให้ได้นั้นขึ้นอยู่กับสัดส่วนของก๊าซ ภายในบรรจุภัณฑ์เป็นหลักสัดส่วนที่เหมาะสมจะสามารถยืดอายุการเก็บรักษาของผักผลไม้ให้ยาวนานแต่หากเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ ไม่ ถูกต้องสิ่งที่สิ่งที่ตามมา คือ ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผักผลไม้ และอายุการเก็บรักษา ที่ยิ่งสั้นลงกว่าเดิม ก๊าซที่นิยมใช้ในการดัด แปลงบรรยากาศในปัจจุบัน
หลักสำคัญของการดัดแปลง  บรรยากาศที่ทำให้สามารถยืดอายุการเก็บรักษา ผักผลไม้นั่น คือการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของก๊าซ ใน บรรยากาศ ภายในภาชนะบรรจุผักผลไม้จนสามารถยับยั้งหรือชะลอกระบวนการหายใจตามธรรมชาติ ของผักผลไม้ ซึ่งยังคงสามารถ ดำเนินต่อไปแม้จะถูกเก็บเกี่ยวแล้ว และหากผักผลไม้นั้นได้ผ่านขั้นตอน การปอกเปลือก ตัดแต่ง หรือหั่นชิ้นด้วยแล้ว กระบวนการหาย ใจจะยิ่งมีอัตราเร็วที่สูงขึ้นในกระบวนการหายใจออกซิเจนจะถูกใช้ในกระบวนการเพื่อเปลี่ยน คาร์โบไฮเดรตและกรดอินทรีย์ในผักผล ไม้ให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำและความร้อนรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ซึ่งเป็นผลทำให้คุณภาพของผักผลไม้สดตัด แต่งพร้อมบริโภคไม่เป็นที่ยอมรับ ของผู้บริโภคการยับยั้งการหายใจของผักผลไม้สดตัดแต่ง พร้อมบริโภค ให้ได้ผลดีจำเป็น ที่จะต้อง ลดปริมาณออกซิเจนซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้ในกระบวนการหายใจและเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศภายในบรรจุภัณฑ์ รวมทั้ง เก็บผักผลไม้นั้นไว้ในอุณหภูมิต่ำตลอดระยะเวลาเก็บรักษา 

การสร้างบรรยากาศ ดัดแปลงภายในบรรจุภัณฑ์ ให้มีสัดส่วนตามที่ต้องการนั้น มี 2 วิธี คือ
การแทนที่อากาศภายในบรรจุภัณฑ์ด้วยแก๊สผสมที่มี สัดส่วนขององค์ประกอบของแก๊สแต่ละชนิดตามต้องการ ซึ่งเรียกว่า Active modification
การอาศัยคุณสมบัติของฟิลม์พลาสติกที่ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ เป็นตัวกำหนดสัดส่วนของก๊าซชนิดต่างๆ ที่อยู่ภายในบรรจุภัณฑ์ซึ่ง ปกติแล้วฟิลม์พลาสติกที่ใช้จะสามารถยอมให้ก๊าซชนิดต่างๆซึมผ่านได้ในอัตราที่แตกต่างกันการเลือกฟิลม์พลาสติกที่จะ เหมาะสมจะสามารถทำให้ระดับออกซิเจน ภายในบรรจุภัณฑ์น้อยลง และเพิ่มระดับ คาร์บอนไดออกไซด์ให้สูงขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่ง เกิดจากการที่ออกซิเจนถูกใช้ในกระบวนการหายใจตามธรรมชาติของผักผลไม้ และปลดปล่อยเป็น คาร์บอนไดออกไซด์วิธี การดังกล่าวนี้เรียกว่า Passive modificationจากผลการวิจัยทั่วโลกหลายปีที่ผ่านมาสามารถเป็นเครื่องยืนยันถึงศักยภาพ MAP ต่อการยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ ผลไม้ตัด แต่งพร้อมบริโภค และในอนาคตคงปฏิเสธไม่ได้ที่เทคโนโลยี MAP จะเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมผักผลไม้สดตัดแต่ง พร้อม บริโภคมากขึ้น MAP มีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานมากขึ้นคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและมีความปลอดภัยต่อการบริโภคสูงสุด


 

บรรจุภัณฑ์ประเภทพลาสติกได้รับความนิยมใช้อย่างแพร่หลายซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือซองพลาสติกที่ปัจจุบันผู้ผลิตสินค้าประเภทขนมขบ
เคี้ยวหันมาใช้เพื่อบรรจุสินค้า ไม่ว่าจะเป็นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มันฝรั่งทอดกรอบ  ข้าวเกรียบ  คุกกี้  ข้าวโพดคั่ว ขนมอบกรอบ
แต่บางครั้งเมื่อเราซื้อมาบริโภคจะพบว่าสินค้าข้างในซองจะอ่อนนุ่มไม่กรอบ หรือบางทีก็มีกลิ่นเหม็นหืนทำไมจึงเป็นเช่นนั้นทั้ง ๆ ที่ซองปิด ผนึกเรียบร้อยมิดชิดดี
ซองพลาสติกซองอาหารขนมทำมาจากแผ่นฟิล์มพลาสติก และมักทำจากฟิล์มพลาสติกหลายชนิด หรือ หลายแผ่น มา ประกบกัน เช่น Polyethylene ประกบกับ Polypropylene หรือ Polyethylene ประกบกับฟิล์ม Metalized เป็นต้น 
เพื่อเพิ่มหรือทำให้คุณสมบัติต่างๆ ของซองอาหารให้ดีขึ้น  เช่น  ความแข็งแรง ความสามารถในการปิดผนึก และคุณสมบัติอีกอย่างหนึ่ง
ที่มีผลต่อคุณภาพของอาหาร และ ขนมขบเคี้ยวเหล่านั้น คือ คุณสมบัติในการซึมผ่าน ซึ่งหมายถึงการซึมผ่านของไอน้ำและก๊าซ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซออกซิเจน เพราะโดยปกติแล้วฟิล์มพลาสติกชนิดต่าง ๆ ไม่สามารถป้องกันน้ำ และก๊าซได้ 100 เปอร์เซ็นต์
และแต่ละชนิดก็จะป้องกันการซึมผ่านได้ ไม่เท่ากันบางชนิดอาจจะป้องกันการซึมผ่านของก๊าซออกซิเจนได้ไม่ดี
เช่น Oriented Polypropylene, Polyethylene บางชนิดป้องกันการซึมผ่านของก๊าซออกซิเจนได้ดี แต่ป้องกันไอน้ำได้ไม่ดี
เช่น  ไนล่อน  ขณะ เดียวกันฟิล์มพลาสติกบางชนิดป้องกันได้ดีทั้งสองอย่าง  เช่น Polyethylene  Terephethalate (PET)
หรือบางชนิดป้องกันได้ไม่ดี ทั้งสองอย่าง เช่น PVC 
ดังนั้นผู้ผลิตพยายามเลือกชนิด ฟิล์มพลาสติกที่มี คุณสมบัติเด่นแตกต่าง กันมาประกบกันเพื่อทำซองให้ เหมาะสม 
โดยคำนึงถึงระยะเวลาการวางจำหน่าย ถึงแม้ว่าจะมีการประกบกันของฟิล์มพลาสติกหลายชนิดแต่ก็ยังมีการ ซึมผ่านเข้า
ของไอน้ำและก๊าซออกซิเจนได้จำนวนหนึ่ง 

ดังนั้นเมื่อเราซื้ออาหารขบเคี้ยวที่มีวางขายตามร้านมาช่วงเวลาหนึ่งแล้วพบว่าอาหารไม่กรอบก็เป็นเพราะว่ามีการซึมผ่านของไอน้ำเข้า
ปผสมในอาหารทีละน้อยจนกระทั่งชื้น อาหารมีกลิ่นเหม็นหืนก็เพราะมีการซึมผ่านของก๊าซออกซิเจนเข้าไป ทีละน้อยเกิดปฏิกิริยา
อออกซิเดชั่นกับอาหารจนมีกลั่นเหม็นหืนดังกล่าว

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้